Solo Exhibition
at VS Gallery Bangkok, Thailand
9 July - 28 August 2022
Curated by
Kittima Chareeprasit
The most painful form of loss is not the death of a loved one, but to have them become victims of enforced disappearance, leaving you to live with the uncertainty of their life or death.
“The Leftover”, the second solo exhibition by ‘Pare’ Patcharapa Inchang, presents a series of paintings on paper and canvas, with her signature technique of leaving watered charcoal stains on the surface creating a dusty texture on the work. This collection of artworks was inspired by one of the short stories from “Love in Lie” By Jirat Prasertsup. In a chapter named “Peeling,”: a girl was attempting to forget her lover, who disappeared without a trace, by peeling off her own skin. However, the remnants of her discarded skin slowly became a new body resembling her missing lover. Pare integrates the concept of this story with her personal experience,. bringing up events of personal loss, with the feeling of being left behind to wait for eternity with the impossibility of relief
The artist believes that waiting for someone is an emotional experience, which does not happen only to herself at an individual level but sometimes to the “collective memories” of people in society., For example, the countless events of enforced disappearance of activists for many decades in Thailand. Her artworks portray the pain and grief of family and friends who must wait in a place filledl with memories of their loved ones, without ever learning whether they are alive or dead.
Stains of ash powder are compared to memories, formed into physical shapes and shadows. Partial silhouettes of the human body are presented in close-up view, cropped into pieces of a familiar whole. These shapes represent fragments of memories that evoke recollection and yearning for the missing person. The phantoms of physical forms may leave behind traces of their existence, while leaving you to suffer with hope that would gradually erode and be destroyed by the passage of time, a constant painful reminder for those the disappeared have left behind. These circumstances are real occurences in country where the government continually brainwashes its citizens to value their own lives as dust, with any who challenge the government’s authority forced to disappear time and again, a repeated pattern of suffering for the families of the disappeared.
ความทุกข์ทรมานที่สุดของการจากลา หาใช่ความตายของคนรัก แต่เป็นการที่ใครคนนั้นถูกทำให้สูญหาย และคุณได้แต่เฝ้าคอยอย่างไม่อาจทราบชะตากรรม
‘แด่คนที่ยังอยู่’ (The Leftovers) นิทรรศการเดี่ยวครั้งที่สองของ ‘แพร’ พัชราภา อินทร์ช่าง นำเสนอผลงานจิตรกรรมบนกระดาษและผืนผ้าใบที่ถูกวาดขึ้นด้วยผงฝุ่นของเถ้าถ่านโดยใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย จนเกิดเป็นร่องรอยของคราบ ผลงานชุดนี้ศิลปินได้แรงบันดาลใจจากบทหนึ่งในหนังสือรวบรวมเรื่องสั้นชุด ‘รักในลวง’ ของ จิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์ ในบท ‘ลอก’ เรื่องเล่าของหญิงสาวผู้พยายามจะลืมคนรักที่สาบสูญไปอย่างเป็นปริศนา ด้วยการลอกคราบผิวหนังของเธอเอง กระนั้นเศษซากจากผิวหนังของเธอก็กลับก่อเกิดเป็นตัวตนใหม่ของผู้ที่เคยสูญหาย แพรผสมผสานเนื้อหาในเรื่องสั้นเข้ากับประสบการณ์ส่วนตัวในอดีต หยิบยกเอาประสบการณ์ความรู้สึกสูญเสีย ความรู้สึกของการที่ถูกทิ้งไว้ให้อยู่เบื้องหลัง รอคอยการกลับมาอย่างไม่มีวันสิ้นสุด และยากที่จะลืมเลือน
ศิลปินเชื่อว่าการรอคอยนั้นเป็นประสบการณ์ทางอารมณ์ ที่ไม่เพียงเกิดขึ้นกับตัวเธอในระดับปัจเจกเท่านั้น แต่บางคราวก็เป็น ‘ความทรงจำร่วม’ (collective memory) ของคนในสังคม ดังเช่นเหตุการณ์บังคับให้สูญหายของนักเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เกิดขึ้นนับครั้งไม่ถ้วนตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมาในประเทศไทย ผลงานของเธอเป็นดังภาพแทนของความโศกเศร้า ความเจ็บปวดของญาติมิตรที่ต้องรอคอยอยู่ในพื้นที่ ๆ เต็มไปด้วยความทรงจำของคนที่พวกเขารัก ที่พวกเขาเคยอาศัยอยู่ร่วมกัน โดยไม่อาจทราบได้ว่าคนที่เขารักนั้นอยู่ที่ใด จะยังมีลมหายใจอยู่หรือไม่
คราบของผงฝุ่นเสมือนคราบความทรงจำที่ก่อรูปเป็นเรือนร่าง กลุ่มเงา และบางส่วนของร่างกายถูกนำเสนอในรูปแบบมุมมองของภาพแบบระยะใกล้ ที่กรอบให้เห็นเพียงบางส่วน รูปทรงเหล่านี้เป็นดังเศษเสี้ยวความทรงจำที่ก่อให้เกิดความระลึกและคิดถึงบุคคลที่สูญหาย บางส่วนของร่างกายชวนให้นึกถึงสัมผัสของสายใยการมีชีวิต ขณะเดียวกันก็ต้องทนทุกข์ในห้วงแห่งความคิดถึง การประกอบสร้างความหวัง เพื่อสุดท้ายมันจะค่อย ๆ ผุกร่อน และถูกทำลายลงตามกาลเวลา คล้ายเป็นการติดอยู่กับอดีตที่ใครคนนั้นไม่ได้รับอนุญาตให้ก้าวต่อไป
เหล่านี้คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ในประเทศที่รัฐคอยกล่อมเกลาหรือฝังหัวให้ประชาชนเข้าใจว่าชีวิตคนคนหนึ่งก็ไม่ต่างอะไรจากฝุ่นผง และผู้ที่มีความเห็นที่แตกต่างก็ถูกบังคับให้สูญหายซ้ำแล้วซ้ำเล่า ราวกับเป็นการวนย้ำความรู้สึกเจ็บปวดแก่ญาติผู้สูญหายอย่างไม่มีวันจบ